วันศุกร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2555

แมวศุภลักษณ์


วิลาศุภลักษณ์ล้ำ   วิลาวรรณ
 ศรีดังทองแดงฉัน   เพริศแพร้ว 
แสงเนตรเฉกแสงพรรณ   โณภาษ 
 กรรษสรรพโทษแล้ว   สิ่งร้ายคืนเกษม 
            แมวศุภลักษณ์.. ในสายตาฝรั่งแล้วเข้าใจว่าแมวทองแดงเป็นแมวพม่า เนื่องจากปี พ.ศ. 2473 ดร.โจเซฟ ซี ทอมสัน ชาวอเมริกัน ได้นำแมวตัวเมียสีน้ำตาลจากประเทศพม่ากลับไปที่ซานฟรานซิสโก แล้วนำไปจดทะเบียน ที่ประเทศอังกฤษ ตั้งชื่อว่า Burmese Cat หรือแมวพม่า นั่นเอง และเป็นแมวพันธุ์หนึ่งที่มีคนเลี้ยงกันมากที่สุดในโลก แต่ในสายตาคนไทย ถือว่าแมวทองแดงเป็นแมวไทย เนื่องจากโครงสร้าง และลักษณะนิสัย เป็นแบบฉบับแมวไทย
          ทั้งนี้ มีเรื่องเล่ากันว่าเมื่อครั้งที่กรุงศรีอยุธยาแตกนั้น พม่าได้กวาดต้อนคนไทยจำนวนหนึ่งไปเป็นเชลยศึกที่พม่าและมีแมวทองแดงตามเจ้าของเข้าสู่เขตแดนพม่าด้วย เนื่องจากเป็นแมวชั้นสูงเช่นเดียวกับแมวไทยพันธุ์อื่นๆ พวกขุนนางพม่า จึงนิยมเลี้ยงกัน พอพวกฝรั่งไปพบเข้าจึงเรียกเป็นแมวพม่าไป
           แมวทองแดงมีรูปร่างขนาดกลาง สง่า น้ำหนักตัวพอประมาณ ขายาวเรียว ฝ่าเท้าอวบ ศีรษะค่อนข้างกลมกว้าง สีขนออกสีน้ำตาลเข้ม คล้ายสีสนิม (สีทองแดง) แต่จะมีสีเข้มมาก ขึ้นบริเวณส่วนหูและในหน้า นัยน์ตาสีเหลืองอำพัน เป็นแมวที่มีความกระตือรือร้นอยู่เสมอ อยากรู้อยากเห็น ชอบผจญภัย รักอิสระเสรีเหนืออื่นใด ชอบสนใจสิ่งต่างๆ รอบตัว กับคนแปลกหน้าแล้วมันดูจะเป็นแมวที่ร้ายพอสมควร ปัจจุบันเมืองไทย หายากมาก แต่มีทั่วไปในอเมริกาและอังกฤษ ซึ่งเขาได้พัฒนาผสมพันธุ์กัน จนได้แมวในลักษณะ และสีอื่นๆ มากมาย ทำนองคล้ายพันธุ์วิเชียรมาศที่แยกออกไปถึง 8 พันธุ์
ลักษณะสีขน
            ขนสั้น สีน้ำตาลเข้มคล้ายสีสนิม (สีทองแดง) บริเวณส่วนหู ใบหน้า ปลายขา หาง จะมีสีน้ำตาลเข้มกว่าบริเวณลำตัวทั่วๆ ไป
 ลักษณะของส่วนหัว 
            ค่อนข้างกลมและกว้าง หนวดมีสีเหมือนลวดทองแดง หูใหญ่
ลักษณะของนัยน์ตา 
 แมวชนิดนี้จะมีดวงตาออกเป็นลักษณะเหลืองๆ หรือออกสีอำพัน หนวดของแมวศุภลักษณ์จะมีสีแวววาวเหมือนกับลวดทองแดงเลยทีเดียว
ลักษณะของหาง             หางยาว ปลายหางแหลมชี้ตรง โคนหางใหญ่และค่อยๆ เล็กเรียวกลมไปจนสุดปลายหาง ขาวยาวเรียวได้สัดส่วนกับลำตัว
ลักษณะที่เป็นข้อด้อยของพันธุ์ 
             ขนยาวเกินไป สีอ่อนเกินไป มีแต้มสีขาวปน เช่น ที่บริเวณหน้าอก หรือช่องท้อง มีไม่สม่ำเสมอ เช่น มีลายเห็นเป็นทางตามลำตัว โดยเฉพาะตามใบหน้า ขาและหาง นัยน์ตาสองข้างเป็นคนละสี หรือเป็นสีอื่น ตาเอียง จมูกหัก หูไม่ตั้ง หางสั้นมากเกินไป (เมื่อยืดขาหลังให้ขนานกับหาง ความยาวของหางสั้นกว่าขาเกิน 3 นิ้ว) หางขอด หางหงิกงอ หางสะดุด ปลายหางคด ดุเกินไป เลี้ยงลูกไม่ดี

แมวสีสวาด (Silver blue) หรือแมวโคราช (Korat cat)





แมวสีสวาด (Silver blue) หรือแมวโคราช (Korat cat) 
          แมวพันธุ์นี้มีชื่อเรียกหลายชื่อ คือ แมวโคราช แมวมาเลศ หรือแมวดอกเลา แมวโคราชเป็นแมวที่พบที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา หรือเรารู้จักกันในนามว่าโคราช มีหลักฐานบันทึกเกี่ยวกับแมวโคราชในสมุดข่อย (Smud Khoi of Cats) ที่เขียนขึ้นในระหว่างปี ค.ศ. 1350-1767 หรือประมาณ พ.ศ. 1893-2310 ในบันทึกได้กล่าวถึงแมวที่ให้โชคลาภที่ดี 17 ตัวของประเทศไทย รวมถึงแมวโคราชด้วย
          ปัจจุบันสมุดข่อยนี้ถูกเก็บไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร ชื่อแมวโคราช เป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 5 โดยใช้แหล่งกำเนิดของแมวเป็นชื่อเรียกพันธุ์แมว มีเรื่องเล่ามากมายหรือเป็นตำนานเล่าขานเกี่ยวกับแมวโคราช รวมถึงตำนานพื้นบ้านที่กล่าวถึงการที่แมวโคราชมีหางหงิกงอ (kinks) มากเท่าไหร่จะมีโชคลาภมากเท่านั้น (แม้ว่าลักษณะหางหงิกงอไม่ใช่มาตรฐานพันธุ์ตากหลักของ CFA ก็ตาม) แต่คนไทยจะเรียกแมวโคราชอีกชื่อว่า แมวสีสวาด (Si-Sawat cat (see-sa-what)
           ขณะที่คนไทยบางกลุ่มจะเรียกแมวโคราชว่า แมวสีดอกเลา เนื่องจากแมวเพศผู้มีสีเหมือนดอกเลา (Dok Lao) โดยจะต้องมีขนเรียบ ที่โคนขนจะมีสีขุ่นๆ เทา ในขณะที่ส่วนปลายมีสีเงิน เป็นประกายคล้ายหยดน้ำค้างบนใบบัว (dewdrops on the lotus leaf) หรือเหมือนคนผมหงอก
          ทั้งนี้ แมวโคราชได้ถูกนำไปเลี้ยงในสหรัฐอเมริการโดย Cedar Glen Cattery ในรัฐโอเรกอน โดยได้รับมาจากพี่น้องชื่อ นารา (Nara) และ ดารา (Darra) ในวันที่ 12 มิถุนายน ปี ค.ศ. 1959 (พ.ศ.2502) ประมาณเดือนมีนาคม ปี พ.ศ.2509 นักผสมพันธุ์แมวโคราชและแมวไทย (วิเชียรมาศ) ชาวรัฐแมรีแลนด์ ได้นำแมวโคราชประกวดในงานประจำปีและ ได้รับรางวัลชนะเลิศและเป็นที่รู้จัก 
ลักษณะสีขน
          ขนสั้น สีสวาด (silver blue) ทั่วทั้งตัวและเป็นสีสวาดตั้งแต่เกิดจนตาย
ลักษณะของส่วนหัว
           หัวเมื่อดูจากด้านหน้าจะเป็นรูปหัวใจ หน้าผากใหญ่และแบน หูตั้ง ในแมวตัวผู้หน้าผากมีรอยหยักทำให้เป็นรูปหัวใจเด่นชัดมากขึ้น หูใหญ่ตั้ง ปลายหูมน โคนหูใหญ่ ผิวหนังที่บริเวณจมูกและริมฝีปากสีเงิน หรือม่วงอ่อน
ลักษณะของนัยน์ตา
            นัยน์ตาสีเขียวสดใสเป็นประกาย หรือสีเหลืองอำพัน ขณะยังเป็นลูกแมวตาจะเป็นสีฟ้า เมื่อโตขึ้นจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองสด และเมื่อเติบโตเต็มที่ตาจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวใบไม้ หรือสีเหลืองอำพัน
ลักษณะของหาง 
             หางยาว ปลายแหลมชี้ตรง โคนหางใหญ่และค่อยๆ เล็กเรียวกลมไปจนสุดปลายหาง ขายาวเรียวได้สัดส่วนกับลำตัว
ลักษณะที่เป็นข้อด้อยของพันธุ์
             ขนยาวเกินไป มีสีอืนปน นัยน์ตาสองข้างเป็นคนละสี หรือเป็นสีอื่น ตาเอียง จมูกหัก หูไม่ตั้ง หางสั้นมากเกินไป (เมื่อยืดขาหลังให้ขนานกับหาง ความยาวของหางสั้นกว่าขาเกิน 3 นิ้ว) หางขอด หางหงิกงอ หางสะดุด ปลายหางคด ดุเกินไป เลี้ยงลูกไม่ดี

วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2555

ขาวมณี

        แมวขาวมณี หรือ ขาวปลอดเป็นสายพันธุ์ที่พบเห็นได้มากสุดในปัจจุบัน เป็นแมวไทยโบราณที่ไม่ได้มีบันทึกไว้ในสมุดข่อย จึงเชื่อว่าเป็นแมวที่เพิ่งกำเนิดในต้นยุครัตนโกสินทร์นี่เอง นิยมเลี้ยงไว้ในราชสำนักครั้งหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 แมวชนิดนี้เป็นที่โปรดปราณมาก ในต่างประเทศนิยมเลี้ยงกันเป็นคู่เพื่อให้ผลัดกันทำความสะอาดขน เป็นแมวที่ค่อนข้างเชื่อง เหมาะสำหรับการเลี้ยงเป็นเพื่อนได้เป็นอย่างดี

            ลักษณะเด่นของขาวมณีคือสีขนและผิวกายขาวสะอาด ขนสั้น นุ่ม รูปร่างลำตัวยาวขาเรียว ทรงเพียวลม ไม่อ้วนหรือผอมเกินไป หัวไม่กลมโต แต่เป็นทรงสามเหลี่ยมคล้ายหัวใจ หน้าผากแบนใหญ่ หูขนาดใหญ่และตั้งตรงจมูกสั้น ดวงตาจะรีเล็กน้อยนัยน์ตาเป็นสีฟ้าหรือเหลืองอำพันสีใดสีหนึ่งเมื่อนำแมวขาวมณีตาสีฟ้า ผสมกับแมวขางมณีตาสี อำพัน ลูกที่ออกมาจะมีตาสองสี คือ สีฟ้าข้างหนึ่งและสีเหลืองอำพันข้างหนึ่ง ซึ่งเป็นลักษณะที่ถูกควบคุมโดยยีนด้อยในแมวขาวมณีแทบทุกตัวจะมีจุดด้อย เช่น ถ้ามีตาสองสีมักมีตาข้างหนึ่งที่ไม่ดี อาจมองเห็นไม่ชัดหรือมองไม่เห็นเลย ถ้าแมวตาสีฟ้ามักจะหูพิการ หรือไม่ได้ยินเสียงมากนัก และแมวตาสีเหลืองอำพันมักมีต่อมขนที่ไม่ดี

            จุดด้อยอีกข้อของแมวขาวมณีคือความไม่ขาวปลอด มีสีใดสีหนึ่งแซมเข้ามา รวมถึงตาสองข้างเป็นคนละสีกัน (Odd eyes) หรือเป็นสีอื่นสีใดที่ไม่ใช่สีฟ้าหรือเหลืองอำพัน ก็ไม่เป็นที่ยอมรับ (อย่างไรก็ตาม ในต่างประเทศนั้นกลับนิยมแมวขาวมณีที่มีตาคนละสีมากกว่าตาสีเดียว) เช่นเดียวกับขนที่ยาวมากเกินขนาด หางคด หางขอด หางงอและ หางสั้น
 ลักษณะที่เป็นข้อเด่น
  • ลักษณะสีขน ขนสั้นแน่นและอ่อนนุ่ม สีขาวไม่มีสีอื่นปน สีผิวหนังเป็นสีขาวปลอดทั้งตัว
  • ลักษณะของส่วนหัว รูปร่างไม่กลม หรือแหลมเกินไป แต่คล้ายรูปหัวใจ ผน้าผากใหญ่และแบน จมูกสั้น หูตั้งใหญ่
  • ลักษณะของนัยน์ตา นัยน์ตาสีฟ้า หรือสีเหลืองอำพัน
  • ลักษณะของหาง หางยาว ปลายหางแหลมชี้ตรง โคนหางใหญ่และค่อยๆ เล็กเรียวกลมไปจนสุดปลายหาง ขาวยาวเรียวได้สัดส่วนกับลำ 

ลักษณะที่เป็นข้อด้อย

ขนมีสีอืนปน นัยน์ตาสองข้างเป็นคนละสี หรือเป็นสีอื่น ตาเอียง จมูกหัก หูไม่ตั้ง หางสั้นมากเกินไป (เมื่อยืดขาหลังให้ขนานกับหาง ความยาวของหางสั้นกว่าขาเกิน 3 นิ้ว ) หางขอด หางหงิกงอ หางสะดุด ปลายหางคด ดุเกินไป เลี้ยงลูกไม่ดี
ขนมีสีอืนปน นัยน์ตาสองข้างเป็นคนละสี หรือเป็นสีอื่น ตาเอียง จมูกหัก หูไม่ตั้ง หางสั้นมากเกินไป (เมื่อยืดขาหลังให้ขนานกับหาง ความยาวของหางสั้นกว่าขาเกิน 3 นิ้ว ) หางขอด หางหงิกงอ หางสะดุด ปลายหางคด ดุเกินไป เลี้ยงลูกไม่ดี

สายพันธุ์

มี 2 สายพันธุ์
  1. สายพันธุ์ตาสีเหลืองอัมพัน
  2. สายพันธุ์ตาสีฟ้า
ถ้าเอาทั้งสองสายพันธุ์มาผสมกัน จะเกิดเป็นแมวตาสองสี คือข้างหนึ่งสีเหลือง อีกข้างหนึ่งสีฟ้า